วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

นาฬิกาข้อมือทั่วไป


เชื่อแน่ว่า คอนาฬิกามือใหม่ หรือแม้แต่เซียนมือเก๋าต้องพิศวง งงงวยเวลาที่อ่านคู่มือ หรือแคตตาล็อกนาฬิการุ่นต่างๆ เพราะคำศัพท์ที่หน้าตาแปลกๆที่นึกเท่าไหร่ก็นึกไม่ออก เปิดดิกฯกี่รอบก็ไม่เจอ หรือแม้แต่คำพื้นๆ ที่พอมาเกี่ยวเนื่องกับเครื่องบอกเวลาแล้ว ความหมายก็กลับกลายเป็นอย่างอื่น สรุปว่าภาษาอังกฤษที่เรียนมา กลับใช้แก้ข้อสงสัยไม่ได้ซะแล้ว
                จึงขอใช้พื้นที่ตรงนี้รวบรวม ภาษาของเวลา มาฝากกัน เพื่อทุกคนจะได้มีความสุขเต็มที่เวลาอ่านเรื่องนาฬิกากันซะที

Arabic Number
                เริ่มกันที่คำศัพท์ง่ายๆ ไม่มีอะไรมากมายก็แค่เลขอาราบิก 0 1 2 3 4.... ธรรมดาๆ ที่ติดอยู่บนหน้าปัดนาฬิกา แต่มีเกร็ดน่ารู้มาฝากกันเล็กน้อย คือ ต้นกำเนิดเลขอาราบิกอยู่ที่ประเทศอินเดียถูกนำเข้าไปแพร่หลายในยุโรป โดยชาวอาหรับเมื่อประมาณคริสทศวรรษที่ 10
 Antimagnetic Watch
คือนาฬิกากลไกป้องกันตัวเองให้อยู่รอดปลอดภัยจากทุกสรรพสิ่งในโลก โดยเฉพาะสนามแม่เหล็กตัวร้ายที่คอยรบกวนระบบการทำงานของนาฬิกาให้เกิดอาเพศเสมอ นาฬิกาประเภทนี้ควรได้รับมาตรฐาน ISO ด้วย แต่สำหรับนาฬิกาควอตซ์แล้ว สนามแม่เหล็กแทบไม่มีผลอะไรกับมันเลย
 Applied Numerals (Applique)
                การติดตั้งตัวอักษรตัวเลข หรือขีดบอกเวลาที่เป็นโลหะลงบนหน้าปัดนาฬิกาให้นูนเด่น
 Analogue
                คือนาฬิกาทีใช้หน้าปัดและเข็มในการแสดงเวลา มีความหมายว่า ตรงตามส่วน นักประดิษฐ์นาฬิกานำคำนี้มาใช้ เมื่อนาฬิกาควอตซ์เป็นที่แพร่หลาย
 Art Deco
                สไตล์การออกแบควบคุมในยุคทศวรรษที่ 20  30

Assembling
                ขั้นตอนการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ของกลไกนาฬิกาเข้าด้วยกันซึ่งเมื่อก่อนจะประกบกลไกด้วยมือของมนุษย์ทั้งหมด แต่ถึงแม้ทุกวันนี้เครื่องจักรจะเข้ามามีบทบาท แต่ฝีมือมนุษย์ก็ยังได้รับการยอมรับว่า ประณีตกว่าอยู่ดี
 Automatic Watch
                คือนาฬิกาอัตโนมัติ และนาฬิกาอัตโนมัติเป็นนาฬิกาที่ไขลานได้ ด้วยการเคลื่อนที่ของแผ่นโรเตอร์ ที่ส่งถ่ายพลังงานสู่เมนสปริง โดยการทำงานทั้งหมดนี้เกิดจากการเคลื่อนไหวของผู้สวมใส่ ระบบมหรรษจรรย์นี้คิดค้นโดย อับราฮัมหลุยส์ แพรีเลด์(Abraham Louisperrelet) ในศตวรรษที่ 18 ซึ่งต่อมา บริเกต์ (Breguet) เรียกระบบไขลานด้วยตัวเองนี้ว่า เพอร์เพ็ทช่วล (perpetuelle) หรือที่เราคุ้นกันในรูปศัพท์ perpetual ในปัจจุบัน
 Crown
                ใครอย่าเผลอแปลคำนี้ว่ามงกุฎ เพราะจะต้องงง และปวดหัวว่ามงกุฎมาเกี่ยวอะไรกับนาฬิกา เพราะในภาษาของเวลาแล้ว คำนี้หมายถึง เม็ดมะยม ที่ใช้ไขลาน และปรับตั้งเวลานั่นแหละ
 Crystal
                กระจกหน้าปัดนาฬิกามีทั้งแก้ว วัสดุที่แตกง่ายที่ใช้กันมากในยุคก่นปี 40 พลาสติกที่มักจะมีรอยขูดขีดให้ช้ำใจ มาจนถึงผลึกควอตซ์ และแชฟไฟร์สังเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันกันรอยขีดข่วนได้เกือบ 100 %
 Dial
                คือหน้าปัดนาฬิกา ส่วนหน้าปัดเล็กๆ น้อยๆ ข้างในนั้นเรียกว่า auxiliary dialsหรือ subsidiary dials
 Diver’s Watch
                เป็นนาฬิกาสำหรับนักดำน้ำแน่นอน ต้องสามารถต้านทานแรงดันน้ำ แต่ควรจะทนแรงดันน้ำได้ในระดับไหนนั้น มีอธิบายไว้ที่คำว่า Water-resistant แล้ว
 Gold
            ทอง นิยมนำมาทำตัวเรือนและสายมีอยู่ 3 สี คือ ทองเหลือง (yellow gold) ทองชมพู (pink gold) และทองขาว (white gold)
 Bezel
            กรอบตัวเรือนโลหะยึดกระจกหน้าปัด ในนาฬิกาบางประเภทสามารถหมุนได้
 Chronograph
                ความหมายแท้ๆคือนาฬิกาที่มีระบบจับเวลาแยกออกมาเป็นอิสระจากกลไกบอกเวลาตามปกติ มีทั้งแบบปุ่มเดียว และ 2 ปุ่ม แต่จะเห็นแบบ 2 ปุ่มมากกว่า (ปุ่มบนใช้สำหรับการเริ่มและหยุดในการจับเวลา ปุ่มล่างใช้สำหรับการจัดตั้งการจับเวลาให้เริ่มต้นที่ศูนย์อีกครั้งหนึ่ง) พร้อมหน้าปัดเล็กที่สำหรับบอกเวลาวัดได้เป็นชั่วโมง นาที และวินาที
 Cronometer
            คุณสมบัติยิ่งยวดของ Cronometer คือจะต้องเที่ยงตรงที่สุด ห้ามกระตุกระติกคลาดเคลื่อนแม้แต่น้อย และต้องได้รับการรับรองความแม่นยำจากสถายันตรวจสอบ COSC (Controle Officiel Suisse des Chronometer Control ในประเทศอังกฤษ) อีกด้วย อย่าไปจำสับสนกับค่า Chronograph ข้างบนล่ะ
 Solar – Powered
            หมายถึงนาฬิกาควอตซ์ที่มีส่วนรับแสงเพื่อเปลี่ยนมาเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการทำงานของกลไก
 Stopwatch
            เครื่องมือในการจับเวลา นาฬิกาจับเวลาที่เข็มนาฬิกาจะแสดงเวลาที่ใช้ไปอยู่เช่นนั้นจนกว่าจะได้รับการปรับตั้งใหม่
 Sweep Second (centre Seconds)
            เข็มวินาทีที่ติดอยู่กึ่งกลางเรือน และยื่นยาวไปชี้ตัวเลขจุดเดียวกันกับเข็มชั่วโมง
 Swiss Made
                สมาพันธ์สวิสประกาศเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 1971 ว่า นาฬิกาที่มิสิทธ์ใช้ข้อความพิเศษนี้จะต้อง
1.       มูลค่าชิ้นส่วนของนาฬิกานั้นต้องผลิตในสวิสอย่างน้อย 50%
2.       นาฬิกาต้องประกอบในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
3.       แผนการผลิตนาฬิกานั้นต้องเริ่มต้น และควบคุมโดยผู้ผลิตที่อยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
4.       นาฬิกานั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และได้รับการตรวจสอทางเทคนิคในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
 Tachymeter (Tachymeter)
            เครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณความเร็วเป็นไมล์ต่อชั่วโมง โดยเป็นสเกลวัดที่มักจะอยู่บนกรอบตัวเรือนหรือขอบหน้าปัดรอบนอก
 Vibration
            การแกว่งครึ่งรอบ (ไม่นับรวมการตีกลับ)ใช้สำหรับวัดความถี่ของเครื่องนาฬิกาแบบกลไก มีหน่วยเป็น VPH (vibration per hour)
 Water – Resistant
            ใช้แทนคำว่า กันน้ำ-waterproof” ที่ผิดกฎหมายในสหรัฐอเมริกา เพราะถือเป็นการอวดอ้างคุณสมบัติเกินจริง นาฬิกาประเภทนี้ต้องมีแรงต้านทานแรงดันน้ำที่ความลึกอย่างต่ำ 1 เมตร หือ 3.28 ฟุต ได้นาน 30 นาที และ 90 วินาที ความลึก 20 เมตร หรือ65.6 ฟุต มาตรฐานนี้ถือว่าจิ้บจ๊อยมากสำหรับ ไดเวอร์สวอตซ์  หรือนาฬิกาสำหรับนักดำน้ำ เพรานาฬีกาเหล่านี้กันน้ำได้มากกว่านั้นเยอะ
 Winding
            การ ไขลาน เพื่อทำให้เมสปริงแน่นขึ้น สามารถทำได้ด้วยมือหรืออัตโนมัติโดยกลไกของนาฬิกา
 World Time
            คือนาฬิกาที่สามารถบอกเวลาได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะต้องการรู้เวลาของเมืองสำคัญๆ หรือโซนเวลาไหนๆ จากทั้งหมด 24 โซน ก็ดูได้จากข้อมือนี่แหละ
 Perpetual Calendar
            นาฬิกาแบบปฏิทินตลอดชีพ ที่ถูกต้อง แม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นเดือนที่มีกี่วัน หรือแม้แต่ปีอธิกสุรทิน ซึ่งจะแม่นยำไปจนถึงวันที่ 28 ก.พ. 2001 เป็นอย่างน้อย
 Platinum
            โลหะที่มีสีขาวเงิน ที่มีน้ำหนักมากกว่าและแพงกว่าทองคำ ใช้สำหรับทำตัวเรือนและสายนาฬิกา
 Power Reserve (up and down) Indicator]
            หน้าปัดหรือช่องหน้าต่างที่แสดงให้รู้ว่านาฬิกาเรือนนั้นมีเวลาเหลืออยู่นานเท่าไหร่ก่อนที่จะหยุดเดิน
 Quartz
            หินผลึก หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ ซิลิคอนไดออกไซด์  (Silicon dioxide) ส่วนประกอบสำคัญของนาฬิกาพลังงานไฟฟ้าที่เรียกว่า ควอตซ์ ซึ่งปัจจุบันใช้ผลึกสังเคราะห์แทนควอตซ์ตามธรรมชาติแล้ว
 Radio Controlled
                คือนาฬิกาควอตซ์ที่รับคลื่นสัญญาณจากพลังงานซีเซียมที่เที่ยงตรงระดับสุดยอดเพื่อมาใช้ตั้งการบอกเวลาของตนเอง
 Rotor
            ไม่ใช่ใบพัดของเฮลิคอปเตอร์ แต่เป็นแผ่นแบนๆรูปพัดในนาฬิกาอัตโนมัต โรเตอร์จะเคลื่อนที่โดยน้ำหนักของตัวเอง ผสานกับการเคลื่อนไหวของข้อมือผู้สวมใส่ก่อนจะส่งแรงไปยังเมนสปริงให้เกิดการทำงาน
 Ruby
            ทับทิม รัตนชาติที่ใช้ต่าง ตลับลูกปืนเพื่อลดการเสียดสีการทำงานของกลไก ปัจจุบันใช้ทับทิมสังเคราะห์แทนทับทิมธรรมชาติ
 Sapphire
            กระจกหน้าปัดนาฬิกาที่สามารถป้องกันรอยขีดข่วนได้เกือบ 100% เป็นวัสดุที่สังเคราะห์ขึ้นในห้องทดลอง
 Screw-Down Crown
            หมายถึงเม็ดมะยมแบบขันเกรียวแน่น เพื่อป้องกันน้ำซึมและฝุ่นเข้า
 Skeleton Watch
            Skeleton แปลว่า โครงกระดูก ดังนั้นความหมายของ Skeleton Watch ก็คือนาฬิกาโป๊ ที่เปลือยให้เห็นตับ ไต ไส้ พุง และการทำงานอันสลับซับซ้อนของนาฬิกาทั้งหมด
 Jewels
            ในที่นี้ไม่ได้มีไว้ทำเครื่องประดับ แต่สำหรับเครื่องนาฬิกาแล้วมีไว้เป็นเหมือน ตลับลูกปืน เพื่อลดการเสียดสีของกลไก โดยนาฬีกาทั่วไปจะมีอยู่ประมาณ 15-18 เม็ด ใน 1 เรือน แต่ก่อนนั้นเราใช้ทับทิมหรือแชฟไฟร์ที่เป็นอัญมณีจริงๆ แต่ปัจจุบันนี้สามารุถังเคราะห์ขึ้นมาใช้กันได้แล้ว แต่ข้อหนึ่งที่เข้าใจผิดกันมานานและอยากจะขอแก้ไขไว้ตรงนี้คือ จำนวนเม็ดของ Jewels ในเครื่องนาฬิกาไม่ใช่ตัววัดคุณภาพ หรือตัวบ่งราคาของนาฬิกาเรือนนั้น แต่ถ้าเป็นอัญมณีที่ประดับพราวอยู่บนตัวเรือน หรือหน้าปัด หรือสายละก็มีผลกับราคาแน่นอน


LCD หรือ Liquid Crystal Display คือ หน้าปัดเรืองแสงในนาฬิกาแบบดิจิตอล

LED  หมายถึงตัวเลขเรืองแสง Liquid-Emitting Display ในนาฬิกาแบบดิจะตอลอีกเช่นกัน

Limited-Edition Watch ก็คือนาฬาที่ผลิตในจำนวนจำกัด  โดยแต่ละเรือนจะมีหมายเลขประจำเรือนอยู่ว่าเป็นเรือนที่เท่าไหร่ จากเท่าไหร่

LUG ก็คือ เขี้ยว  สลัก  ตะขอ หมุด  หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เป็น่วนเชื่อมสายนาฬิกาเข้ากับตัวเรือน บางครั้งอาจพบในรูปแบบของคำว่า  “Bar”

Marine  Chronometer  คือนาฬิกาแบบกลไกหรือแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความเที่ยงตรงสูงมาก ซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องไม้ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเดินเรือทะเลเพื่อบอกพิกัดลองติจูตด้วยการเทียบเวลา อุปกรณ์ชิ้นนี้ได้รับการพัฒนาเมื่อศตวรรษที่  18

Moon Phase  คือนาฬิกาที่มีหน้าปัดแสดงข้างขึ้น ข้างแรม  ตามหลักจันทรคติที่   1 เดือน มี  29 วันครี่ง โดยครอบคลุมไปถึงส่วนเพิ่มพิเศษ 44 นาที ใน เดือนด้วย

Movement  คือ เครื่องกลไกสมบูรณ์แบบของนาฬอกา ประกอบขึ้นด้วยชิ้นส่วนตั้งแต่ 120 ชิ้นขึ้นไป จนถึงกว่า 600 ชิ้น

Oyster Case  คำนี้..อย่าแปลว่าเปลือกหอยนางรมนะครับ  เพราะนี่คือตัวเรือนต้านทานแรงดันน้ำที่ขึ้นรูปจากโลหะเพียงชิ้นเดียว อันเลื่องชื่อ (อันนี้ของโรเล็กซ์เขา ...ป๋าเอามาบอกให้รู้กันเฉยๆ)

 Spring Bars หรือ Spring Pings หมายถึงสลักเชื่อมระหว่างข้อต่อบนตัวเรื่อนนาฬิกาและสายข้อมือโลหะหรือสายหนัง 


  Stainless Steel คือโลหะผสมที่มีโครเมียมเป็นส่วนประกอบหลัก มีความทนทานอย่างยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะทนต่อการเป็นสนิม การเป็นด่าง และการสึก  กร่อนด้วยโลหะชนิดนี้สามารถนำไปขัดให้ขึ้นเงาจนเสมือนเป็นวัสดุล้ำค่า และด้วยความแข็งแกร่ง สเตนเลสสตีลจึงกลายเป็นวัสดุที่นิยมนำมาใช้ทำตัวเรือนนาฬิกา หรือ ตัวเรือนอาจเป็นวัสดุอื่น แต่สุดท้ายก็ยังนำสเตนเลสสตีลมาใช้เป็นฝาหลังนาฬิกาอยู่ดี Stepping motor คือส่วนหนึ่งของกลไกควอตซ์ ทำหน้าที่เลื่อนรางเฟืองซึ่งส่งผลให้เกิดการขับ เคลื่อนของเข็มชี้เวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น