วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทที่7จริยธรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องที่4พฤติกรรมการใช้ระบบสารสนเทศ

บทที่7จริยธรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
เรื่องที่4พฤติกรรมการใช้ระบบสารสนเทศ

  • พฤติกรรมสารสนเทศ (Information behavior) เป็นการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจวิธีการต่างๆ ที่มนุษย์มีปฎิสัมพันธ์กับสารสนเทศ “understanding of how people interact with information” โดยเฉพาะการสร้าง การแสวงหา และการใช้สารสนเทศ
  • ทฤษฎีทางจิตวิทยา เห็นว่า ความต้องการสารสนเทศเกิดจากแรงกระตุ้นทางกาย ความอยากรู้อยากเห็น และแรงกระตุ้นทางสังคม เช่น ต้องการเข้าพวก ต้องการการยอมรับ หรือแรงกระตุ้นที่เกิดจากความต้องการที่จะรู้หรือเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งเป็นความต้องการที่ซับซ้อน
  • การแสวงหาสารสนเทศมักจะเป็นไปตามหลักการ Zipf’s Principle of least effort คือ ใช้ความพยายามให้น้อยที่สุด หาแบบง่ายๆ ด้วยวิธีสะดวกสบาย แม้สารสนเทศที่ได้อาจมีคุณภาพด้อยก็ตาม และการกระจายตัวไม่เป็น normal distribution แต่จะเป็นไปตามหลัก power law curve หรือ 80-20 rule
  • ในมุมมองของสารสนเทศศาสตร์ เราพยายามจะทำความเข้าใจการสร้าง การแสวงหา และการใช้สารสนเทศ โดยสนใจเฉพาะชนิดของสารสนเทศ และกระบวนการเคลื่อนย้าย (transfer) สารสนเทศ เป็นหลัก ในขณะที่การสื่อสารและสังคมศาสตร์ จะสนใจกระบวนการสื่อสาร ของสารสนเทศ และผลกระทบที่มีต่อคนและสังคม 

  • T.D. Wilson’s Information Behaviour model เห็นว่าพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศเกิดจากความต้องการพื้นฐานทั้ง 3 ด้านของมนุษย์ คือ ความต้องการทางกาย (ความหิว กระหาย) ทางอารมณ์ (ความอยากรู้อยากเห็น ต้องการความสำเร็จ แสดงออก มีอำนาจเหนือผู้อื่น ต้องการการยอมรับจากสังคม) และทางสติปัญญา (ต้องการรู้เละเข้าใจ เพื่อจัดระเบียบ วางแผน และมีทักษะเพื่อตัดสินใจ) และขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพอื่นๆ เช่น ที่ทำงาน สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ด้วย
  • David Ellis’s model of information-seeking behaviourกระบวนการแสวงหาสารสนเทศของนักวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ จะประกอบไปด้วยพฤติกรรม 6 ประการ คือ Starting (การเริ่มต้น) -> Chaining (การเชื่อมโยงร้อยเรียง) -> Browsing (การดูผาด) -> Differentiating (การแยกแยะความแตกต่าง) -> Monitoring (การติดตามเฝ้าสังเกต) -> Extracting (การคัดแยกออกมา) ต่อมาเพิ่มอีก 2 ขั้นตอน คือ Verifying (การตรวจสอบความถูกต้อง) -> Ending (การจบกระบวนการ)
  • Information Search Process (ISP) ของ Carol Kuhlthauกระบวนการค้นหาสารสนเทศ ขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิด และทัศนคติของผู้ใช้ ในระหว่างค้นหาสารสนเทศ เช่น ความสับสน ลังเล ไม่แน่ใจ เกิดข้อสงสัยและปัญหา ตลอดจนเกิดความมั่นใจ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ การเริ่มงาน (Task initiation) -> การเลือกเรื่อง (Topic selection) -> การสำรวจ (Pre-focus exploration) -> การสร้างกรอบแนวคิดของเรื่องที่ต้องการ (Focus formation) -> การรวบรวม (Information collection) -> การนำเสนอและจบกระบวนการ (Presentation / Search closure) แต่ทุกขั้นตอนจะประกอบไปด้วย 4 แง่มุม คือ ความคิด (Thoughts), ความรู้สึก (Feelings), การกระทำ (Actions), กลยุทธ์ (Strategies)
  • Berrypicking model ของ Marcia Bates การตอบสนองความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลการค้นคืนเพียงครั้งเดียว แต่จะขึ้นอยู่กับสารสนเทศชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่เก็บได้ระหว่างทาง และการแวะเก็บแต่ละครั้งจะมีการปรับแก้คำค้นใหม่ไปเรื่อยๆ โดยเน้นการสำรวจเลือกดูแบบผาดๆ (browsing) ซึ่งเป็นการค้นหาแบบไร้ทิศทางหรือแบบกึ่งมีทิศทาง
  • Anomalous State of Knowledge (ASK) ของ Nicholas J. Belkinเป็นความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้ หลักการคือ ผู้ใช้ต้องทราบความต้องการของตนเองและตั้งคำถาม (ASK) เพื่อสอบถาม (request a query) ไปยังระบบ IR จากนั้นระบบจะตอบกลับและส่งสารสนเทศมาให้ในรูปแบบข้อความ (texts) ผู้ใช้จะประเมินสารสนเทศที่ได้รับ และตัดสินใจว่าสารสนเทศนั้นตอบสนองกับความต้องการหรือไม่ ตอบสนองทั้งหมด บางส่วน หรือไม่ตอบสนองเลย อย่างไรก็ตาม บางครั้งผู้ใช้มักมีปัญหาทางด้าน cognitive และ linguistic นั่นคือ ไม่สามารถระบุความต้องการที่ชัดเจนของตัวเองได้ ขาดความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์และ IR หรือมีปัญหาด้านการใช้ภาษาที่ถูกต้องในการตั้งคำถาม
  • Sense-Making ของ Brenda Dervin “the effort of people to make sense of many aspects of their lives through information seeking and use” ทฤษฎีนี้เห็นว่าพฤติกรรมความต้องการสารสนเทศไม่ได้เกิดจากความต้องการแสวงหาสารสนเทศ แต่เกิดขึ้นเพราะต้องการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เป็นภาวะที่ต้องใช้สารสนเทศเพื่อการแก้ปัญหาหรือเพื่อลดช่องว่างของปัญหา ซึ่งความต้องการสารสนเทศจะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ เป็นพฤติกรรมทางการสื่อสารที่วางตัวผู้ใช้หรือผู้ค้นหาสารสนเทศเป็นศูนย์กลางของการศึกษาวิจัย และให้ความสนใจศึกษาแรงจูงใจจากภายใน (internal motivation) และความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก (use studies) เป็นการนำวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและแนวคิดทางปรัชญาเข้ามาใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น